วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

งาน Lms

LMS คืออะไร

           
        LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้           
เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตาม
ที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่างๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

        LMS คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย มีเครื่องมือและส่วนประกอบที่สำคัญ สำหรับผู้สอน ผู้เรียนและผู้ดูแลระบบ ได้แก่ ระบบการจัดการรายวิชา ระบบการจัดการสร้างเนื้อหา ระบบบริหารจัดการผู้เรียน ระบบส่วนการจัดการข้อมูลบทเรียน และระบบเครื่องมือช่วยจัดการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์และจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ การสื่อสาร Chat, E-mail, Web-board, การเข้าใช้ การเก็บข้อมูล, และการรายงานผล เป็นต้น

LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
       1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management)
       กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจาก       ที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวน        บทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งาน      ภาษาไทยอย่างเต็ม

        2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management)
        ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media

        3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System)
        มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจ
ข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน

        4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools)
        ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้

        5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System)
       ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin

        การนำระบบ LMS ไปประยุกต์ใช้งาน
         ระบบ LMS สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลายอาทิ สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรม หน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน โดยในการนำไปใช้งานผู้ใช้สามารถ ปรับการใช้งานให้เหมาะสมกับหน่วยงาน จุดประสงค์หลักในการพัฒนาระบบขึ้นมาก็เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้ใช้งานในหน่วยงานทั้งระบบ E-Learning หรือระบบ Knowledge Management(KM)
       

         ผู้ใช้งานในระบบ LMS
สำหรับผู้ใช้งานในระบบ LMS นั้นสามารถที่จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
         1. กลุ่มผู้บริหารระบบ (Administrator) 

        ทำหน้าที่ในการติดตั้งระบบ LMS การกำหนดค่าเริ่มต้นของระบบ การสำรองฐานข้อมูล การกำหนดสิทธิ์การเป็นผู้สอน
         2. กลุ่มอาจารย์หรือผู้สร้างเนื้อหาการเรียน (Instructor / Teacher) 

        ทำหน้าที่ในการเพิ่มเนื้อหา บทเรียนต่างๆ เข้าระบบ อาทิ ข้อมูลรายวิชา ใบเนื้อหา เอกสารประกอบการสอน การประเมินผู้เรียนโดยใช้ข้อสอบ ปรนัย อัตนัย การให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และสนทนากับนักเรียน
        3. กลุ่มผู้เรียน(Student/Guest)    

        หมายถึงนักเรียน นักศึกษา ที่สมัครเข้าเรียนตามหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งการทำแบบฝึกหัด ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอน โดยอาจารย์สามารถทำการแบ่งกลุ่มผู้เรียนได้ และสามารถตั้งรหัสผ่านในการเข้าเรียนแต่ละวิชาได้


        ลักษณะของ LMS      

        1. กำหนดผู้ใช้งาน
        2. ระบบการสือสาร
        3. แหล่งอ้างอิง
        4. การตรวจและให้คะแนน
        5. การติดตามพฤติกรรมการเรียน
        6. การรายงานผล
        7. ระบบการสอน
        8. ความสามารถในการนำเสนอ Rich Media


        ส่วนประกอบระบบ LMS       
        1. ส่วนเนื้อหาในบทเรียน (Lecture and Presentation)
        2. ส่วนของการทดสอบในบทเรียน (Testing)
        3. ส่วนของการพูดคุยในห้องสนทนา (Chat)
        4. กระดานข่าว (Webboard)
        5. ส่วนของการติดต่อผ่าน E-mal
        6. ส่วนสนับสนุนการเรียนการสอน
             - การลงทะเบียนของผู้เรียน
             - การบันทึกคะแนนของผู้เรียน
             - การรับ-ส่งงานของผู้เรียน
            - การเรียกดูสถิติของการเข้าเรียน


        มาตรฐานระบบ E-Learning
         กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา(DOD) ได้ศึกษาปัญหาของความไม่เข้ากัน (Incompatibility) ของระบบอีเลิร์นนิ่ง และเนื้อหาวิชา ที่พัฒนาแตกต่าง แพลตฟอร์มกัน ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จึงรวบรวมข้อกำหนด ที่พัฒนาก่อนหน้ามาเข้าด้วยกัน ทั้งของ IMS และ AICC เพื่อที่จะออกเป็นข้อกำหนด อีเลิร์นนิ่งกลาง และมีการตั้งหน่วยงานร่วมมือกันระหว่างกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หน่วยงานรัฐบาล ภาคเอกชนและภาคการศึกษา จัดตั้งสถาบันที่เรียกว่า ADL (Advanced Distributed Learning) เมื่อปี 1997 และได้ออกข้อกำหนดแรกในเวอร์ชั่น 1.0 เมื่อปี 2000 แต่เวอร์ชั่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปคือ ข้อกำหนด SCORM Version 1.2 ซึ่งออกเมื่อเดือนตุลาคมปี 2001 ดังนั้นในการสร้างระบบ LMS ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบขึ้นมาใช้งานเอง ซื้อจากบริษัทเอกชน หรือใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปประเภท Open Source จำเป็นต้องยึดตามมาตรฐานกลางคือ SCORM (Sharable Content Object Reference Model) 



        กลุ่มซอฟท์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ได้แก่
             - Moodle (www.moodle.org) (แพร่หลายมากที่สุด)
             - ATutor (www.atutor.ca)
             - Claroline (www.claroline.net)
             - LearnSquare (www.learnsquare.com) (สัญชาติไทย)
             - VClass (www.vclass.net) (สัญชาติไทย)
             - Sakai (www.sakaiproject.org)
             - ILIAS (http://www.ilias.de)


        กลุ่มซอฟร์แวร์เอกชนเพื่อธุรกิจ ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ได้แก่
             - Dell Learning System (DLS) (www.dell.com)
             - De-Learn (www.de-learn.com)
             - i2 LMS (www.progress-info.co.th) (สัญชาติไทย)


ที่มา  - http://www.netthailand.com/home/articles.php?art_id=12&start=1
        - http://blog.pbru.ac.th/?p=87
        - http://computer-edu-training.blogspot.com/2007/07/lms.html
        - http://elearningeducation.blogetery.com/2010/11/14/lms-learning-management-system-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
 

งานCMS

CMS คืออะไร
ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content Management System: CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้น
ขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา (Development) และบริหาร (Management)เว็บไซต์ ไม่ว่า
จะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์ โดยส่วนใหญ่
แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์ (Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ
 ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ (เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์(เช่น MySQL)  

ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหาร
จัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ(Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า(Portal Systems) โดย
ตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web 
directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้า
อากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้อง
สนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วน
ดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมา
 ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภท
ของเว็บไซต์นั้นๆ ปัจจุบันซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้าง CMS มีหลายตัวด้วยกันอาทิเช่น PostNuke, PHP-Nuke, MyPHPNuke, Mambo, eNvolution, MD-Pro, XeOOPs, OpenCMS, Plone, JBoss, Drupal เป็นต้น

ลักษณะการทำงานของ Content Management System (CMS)
เป็นระบบที่แบ่งแยกการจัดการในการทำงานระหว่างเนื้อหา(Content) ออกจากการออกแบบ (Design) 
โดยการออกแบบเว็บเพจจะถูกจัดเก็บไว้ใน Templates หรือ Themes ในขณะที่เนื้อหาจะถูกจัดเก็บไว้
ในฐานข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อใดที่มีการใช้งานก็จะมีการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 ส่วน เพื่อสร้างเว็บเพจขึ้น
มา โดยเนื้อหาอาจจะประกอบไปด้วยหลายๆส่วนประกอบ เช่น Sidebar หรือ Blocks, Navigation bar 
หรือ Main menu, Title bar หรือ Top menu bar เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ CMS ในวงการต่างๆ ระบบ CMS สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ หลากหลาย ตัวอย่างการนำซอฟต์แวร์ CMS มาประยุกต์ใช้งาน อาทิเช่น- การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สถาบันการศึกษา ธุรกิจบันเทิง หนังสือพิมพ์ การเงิน การธนาคาร หุ้นและการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ งานบุคคล งานประมูล สถานที่ท่องเที่ยว งานให้บริการลูกค้า- การนำ CMS มาใช้ในหน่วยงานของรัฐ อาทิเช่น งานข่าว งานประชาสัมพันธ์ การนำเสนองานต่างๆ ขององค์กร- การใช้ CMS สร้างไซต์ ส่วนตัว ชมรม สมาคม สมาพันธ์ โดยวิธีการแบ่งงานกันทำ เป็นส่วนๆ ทำให้เกิดความสามัครคี ทำให้มีการทำงานเป็นทีมเวิร์คมากยิ่งขึ้น- การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ SME โดยเฉพาะสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP กำลังได้รับความนิยมสูง- การนำ CMS มาใช้แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ อื่นๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการพัฒนา- การใช้ CMS ทำเป็น Intranet Web Site สร้างเว็บไซต์ใช้ภายในองค์กร

ส่วนประกอบของ CMS·        Templates หรือ Theme เป็นส่วนที่เปรียบเสมือนหน้าตา หรือเสื้อผ้า ที่ถือเป็นสีสรรของเว็บไซต์ (Look&feel) ที่มีรูปแบบที่กลมกลืนกันตลอดทั้งไซต์·        ภาษาสคริปต์ หรือ ภาษา HTML ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ฐานข้อมูล เพื่อไว้เก็บข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของเว็บไซต์

แล้ว CMS กับ Web log มันต่างกันตรงไหนWeb log นิยมเรียกสั้นๆ ว่า Blog หมายถึง เว็บไซต์ที่มีรูปแบบง่ายๆ โดยมากจะเป็นในลักษณะเว็บไซต์ส่วนตัวคนสร้างบล็อกต้องการบรรยายเหตุการณ์ส่วนตัว อาทิ ความในใจ ชีวิติครอบครัว เหตุการณ์ประทับใจในชีวิต อะไรทำนองนี้ โดยที่เนื้อหาของบล็อกแต่ละบล็อกนั้นจะเป็นเนื้อหาใหม่ล่าสุด ไล่ย้อนหลังลงกลับไปเรื่อยๆ กล่าวคือข้อความหลังสุดจะอยู่ด้านบนสุด เราเรียกคนที่ทำ Blog ว่า Blogger หรือ Weblogger โดยในเนื้อหาใน Blog นั้นจะส่วนประกอบสามส่วนคือ- หัวข้อ (Title) เป็นหัวข้อสั้นสั้นๆ- เนื้อหา (Post หรือ Content) เป็นเนื้อหาหลักที่คนสร้าง Blog ต้องการที่จะบอกให้คุณทราบ- วันที่เขียน (Date) เป็นวัน เดือน ปี ที่เขียนทูลที่ใช้ทำ Blog เช่น pMachine , b2evolution, bBlog, MyPHPblog, Nucleus, Wordpress, Simplog เป็นต้นปัจจุบันเว็บบล็อกบางตัวฝังโมดูลกระดานข่าวและอื่นๆ มาด้วยหากจะพูดแบบภาษาชาวบ้าน CMS ก็คือปู่ของ Blog นั่นแหละครับ เพราะ CMS เองก็สามารถนำมาทำเป็น Blog ได้ แต่ CMS มันมีความสามารถอื่นๆ อีกมากที่บล็อกทำไม่ได้

ที่มา: http://www.cmsthailand.com และ Computer Education : Khon Kaen University

วันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

การบ้านระบบเนวิเกชั่น


ตอบคำถามต่อไปนี้ความสำคัญของระบบเนวิเกชั่น?
ตอบ การเข้าถึงข้อมูลอย่างสะดวกเป็นหัวใจสำคัญของระบบเนวิเกชั่น การมีเนื้อหาในเว็บไซท์ที่ดีจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอแต่เนื้อหานั้นจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าผู้ใช้ค้นหาสิ่งที่ต้องการไม่พบ ความสำเร็จของเว็บไซท์ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ใช้สามารถพึ่งพาระบบเนวิเกชั่นในการนำทางไปถึงที่หมายได้
 ระบบเนวิเกชั่นแบบลำดับชั้น ?
ตอบ เป็นระบบเนวิเกชั้นพื้นฐาน
l มีการเชื่อมโยงตามลำดับชั้นของข้อมูล
 หัวข้อหลัก 
à หัวข้อย่อย à รายละเอียด
l มีข้อจำกัดในการเคลื่อนที่เฉเพาะแนวตั้ง
 ระบบเนวิเกชั่นแบบโกลบอล ?
ตอบ เป็นระบบเนวิเกชั้นที่ใช้ลิงค์ไปยังส่วนหลักๆ ของเว็บไซท์ ซึ่งจะมาช่วยเสริมข้อจำกัดของแบบลำดับชั้นทำให้สามารถ เคลื่อนที่ได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 ระบบเนวิเกชั่นแบบโลคอล?
ตอบ เป็นระบบเนวิเกชั้นที่ใช้ลิงค์ไปยังรายละเอียดย่อยๆ ภายในหัวข้อหลักนั้นๆ  โดยจะเหมาะสำหรับเว็บไซท์ที่มีรายละเอียดและมีรายการหัวข้อที่ซับซ้อน
 
ระบบเนวิเกชั่นเฉพาะที่ ?

ตอบ  เป็นระบบเนวิเกชั่นเฉพาะที่ตามความจำเป็นของเนื้อหา ซึ่งก็คือลิงค์ของคำหรือข้อความที่น่าสนใจซึ่งประกอบอยู่ในประโยค
 Navigation Bar?
ตอบ เป็นระบบเนวิเกชั่นพื้นฐานที่ใช้ได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบลำดับชั้น, แบบโกลบอล และแบบโลคอล โดยNavigation Bar จะประกอบด้วยกลุ่มของลิงค์ต่างๆ ที่อยู่รวมกันในบริเวณหนึ่งของหน้าเว็บไซท์
 Frame Based?

ตอบ  เป็นระบบเนวิเกชั่นที่อาศัยระบบเฟรมมาช่วยแบ่งพื้นที่ในหารแสดงข้อมูล และข้อมูลในแต่ละเฟรมเป็นอิสระจากกัน  โดยจะมีเฟรมที่มีระบบ Navigation ที่สามารถควบคุมการแสดงผลข้อมูลในอีกเฟรมหนึ่งได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับFrame-Based การครอบครองพื้นที่หน้าจอตลอดเวลา
 Pull-Down Menu? 
ตอบ  มีรายการให้เลือกมากแต่ใช้พื้นที่น้อยช่วยให้ผู้ใช้เลือกรายการย่อยเข่าสู่เป้าหมายได้สะดวก เหมาะสำหรับข้อมูลประเภทเดียวกันที่มีจำนวนมากๆ 
 Pop-Up Menu? 
ตอบ  หน้าเว็บเพจไม่รกจนเกินไปด้วยลิงค์จำนวนมากประหยัดพื้นที่ในการแสดงรายการย่อยของเมนู
 Image Map ?
ตอบ ใช้ภาพกราฟิกในการลิงค์ โดยกำหนดขอบเขตของพื้นที่ต่างๆ ที่สามารถลิงค์ได้บนภาพกราฟิกนั้นควรมีคำอธิบายในส่วนของ ALT (Alternate Text)ไม่ควรใช้ระบบเนวิเกชั่นแบบ Image Map ทั้งเว็บไซท์
 Search Box ?
ตอบ มีประโยน์สำหรับเว็บไซท์ที่มีข้อมูลปริมาณมาก ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยการระบุคีย์เวิร์ดที่ต้องการค้นหา ผ่านระบบ Search Engine ของเว็บไซท์ เพื่อให้แสดงรายการต่างๆ ที่ค้นพบ

งาน Lms

LMS คืออะไร                     LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก  L earning  M anagement  S ystem หรือระบบการจัดการเรียนรู้            ...